สมาคมอุตสาหกรรมคาราโอเกะแห่งประเทศญี่ปุ่น รายงานว่า เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา “เนกิชิ ชิเงอิจิ” หนึ่งในผู้คิดค้นเครื่องคาราโอเกะเครื่องแรกของโลก ได้เสียชีวิตอย่างสงบด้วยอายุ 100 ปี
เนกิชิเป็นที่รู้จักการสร้างเครื่อง “สปาร์โก บ็อกซ์” (Sparko Box) หนึ่งในอุปกรณ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ “คาราโอเกะ” กิจกรรมที่ได้รับวามนิยมอย่างมากในญี่ปุ่นและหลายประเทศจนถึงปัจจุบัน
เนกิชิเกิดในปี 1923 เขาก่อตั้งบริษัทประกอบเครื่องเสียงติดรถยนต์สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ทางตอนเหนือของโตเกียว
เขาชื่นชอบและมักติดตามรายการวิทยุ Singalong ที่ออกอากาศในญี่ปุ่นในขณะนั้นเป็นประจำ จนเกิดไอเดียติดเทปเพลงเข้ากับไมโครโฟนและวงจรมิกซ์เพื่อให้เขาได้ยินเสียงตัวเองร้องเพลง
เนกิชิเคยให้สัมภาษณ์ว่า “เมื่อผมถามวิศวกรโรงงานว่าทำแบบนี้ได้มั้ย เขาตอบว่ามันง่ายมาก … ผมจึงต่อขั้วต่ออินพุตไมโครโฟนเข้ากับเครื่องเสียงรถยนต์และสร้างสิ่งที่คล้ายกับตู้เพลงต้นแบบขึ้นมา”
เขาได้ทดสอบอุปกรณ์ครั้งแรกด้วยเทปบรรเลงเพลง “Mujo no Yume” ของ โคดามะ โยชิโอะ ซึ่งโด่งดังมากในช่วงปี 1930
เนกิชิบอกว่า เขาได้ยินเสียงของตัวเองร้องควบคู่ไปกับเสียงดนตรี “มันได้ผล! “นั่นคือทั้งหมดที่ผมคิด ส่วนใหญ่มันสนุก ผมรู้ทันทีว่าได้ค้นพบสิ่งใหม่”
เขาตั้งชื่ออุปกรณ์นั้นว่า สปาร์โก บ็อกซ์ โดยขายควบคู่ไปกับการ์ดเนื้อเพลง จนผลิตและติดตั้งได้ประมาณ 8,000 เครื่องทั่วญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่อยู่ที่บาร์และร้านอาหาร จากนั้นเมื่อหยุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในปี 1970 อุปกรณ์ของคู่แข่งหลายรายก็ถูกคิดค้นและนำออกสู่ตลาด
สมาคมอุตสาหกรรมคาราโอเกะแห่งประเทศญี่ปุ่นไม่เคยระบุชี้ชัดว่า ใครเป็นผู้ให้กำเนิดคาราโอเกะ แต่ยกย่องนักประดิษฐ์หลายคน ทั้งเนกิชิ รวมถึงนักดนตรีผู้สร้างเครื่อง 8 Juke อย่าง อิโนะอุเอะ ไดสึเกะ และนักประดิษฐ์อีกหลายคน
คาราโอเกะเกิดจากคำว่า “คาระ” ที่แปลว่า ว่างเปล่า และ โอเคะ ที่เป็นคำย่อของวงออร์เคสตรา รวมกันจึงเป็นวงออร์เคสตราที่ว่างเปล่า สื่อความหมายถึงดนตรีเปล่า ๆ ที่ใครก็ตามสามารถร้องเนื้อเพลงได้คำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
ทั้งเนกิชิและอิโนะอุเดะต่างไม่ได้จดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของตัวเอง และในไม่ช้าผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายอื่น ๆ ก็เริ่มผลิตและทำการตลาดเวอร์ชันของตนเอง จนในช่วงทศวรรษ 1980 “กล่องคาราโอเกะ” (หรือที่รู้จักกันในชื่อ KTV) ก็ได้แพร่หลายไปทั่วญี่ปุ่น เกิดธุรกิจคาราโอเกะเชิงพาณิชย์แซงหน้าบาร์และร้านอาหาร
การพัฒนาต่อมา รวมถึงการเปิดตัววิดีโอคาราโอเกะและระบบคาราโอเกะแบบเครือข่าย ช่วยให้ธุรกิจคาราโอเกะแพร่กระจายไปทั่วเอเชียและทั่วโลกในทศวรรษต่อมา
ตามการประมาณการของสมาคมอุตสาหกรรมคาราโอเกะแห่งญี่ปุ่น ณ ปี 2022 ญี่ปุ่นมีร้านคาราโอเกะมากกว่า 8,000 แห่ง ในขณะที่บาร์ 131,500 แห่งมีเครื่องคาราโอเกะ รวมแล้วเป็นตลาดที่มีมูลค่ากว่า 3.88 แสนล้านเยน (ราว 9.3 หมื่นล้านบาท)
เรียบเรียงจาก CNN
รู้จัก “รยูจุนยอล” นักแสดงมากความสามารถ หนุ่มผู้ครองหัวใจสาวฮันโซฮี
ลูกน้องบิ๊กโจ๊ก แฉ! เส้นทางการเงิน “นายพล ต.-ครอบครัว”โยงเว็บพนัน BNK
เริ่มแล้ว! พายุฤดูร้อนถล่มหนัก! ฝนตก-ลูกเห็บตก บ้านเรือนเสียหายเพียบ