ทางการเกาหลีใต้รายงานว่า ในปี 2023 ที่ผ่านมา จำนวนชาวเกาหลีเหนือที่แปรพักตร์และหลบหนีมายังเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากเกาหลีเหนือได้ผ่อนคลายมาตรการปิดพรมแดนเพื่อป้องกันโควิด-19 แล้ว

ในปี 2019 ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 มีชาวเกาหลีเหนือหนีมาเกาหลีใต้ 1,047 คน แต่เมื่อมีการปิดพรมแดน ทำให้ผู้หลบหนีเหลือเพียง 63 คนในปี 2021 และ 67 คนในปี 2022

 เกาหลีใต้เผย ชาวเกาหลีเหนือแปรพักตร์เพิ่มขึ้น 3 เท่าในปี 2023

นาโตระดมกำลัง 9 หมื่นนาย ซ้อมรบครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ยุคสงครามเย็น

เกาหลีเหนือทดสอบระบบอาวุธนิวเคลียร์ใต้น้ำ ตอบโต้การซ้อมรบร่วม

เปิดคลิปเกาหลีเหนือ ลงโทษวัยรุ่นแอบดูซีรีส์เกาหลีใต้

แต่ในปี 2023 ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าเป็น 196 คนแล้ว ซึ่งแม้จะยังเทียบไม่ได้กับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด แต่ทางการเกาหลีใต้ระบุว่า ภูมิหลังของผู้แปรพักตร์จำนวนมากเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งมีทั้งผู้หญิง นักเรียน และนักการทูต ชี้ให้เห็นถึงความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นต่อระบอบการปกครองของผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จองอึน

ที่น่าสนใจคือ ในจำนวนบรรดาผู้หลบหนีของปีที่แล้ว มีถึง 10 คนที่เป็นประชาชนในกลุ่ม “ชนชั้นสูง” ของเกาหลีเหนือ ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2017 นอกจากนี้ ผู้หลบหนีจำนวนมากอยู่ในช่วงอายุ 20-30 ปี และ 80% ของผู้หลบหนีเป็นผู้หญิง

นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 ชาวเกาหลีเหนือประมาณ 31,000 คนแปรพักตร์มายังเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่จะเลือกหนีไปยังประเทศจีนก่อน จากนั้นจึงค่อยหาทางเข้าเกาหลีใต้ผ่านประเทศที่สาม

จำนวนผู้แปรพักตร์สูงสุดเกิดขึ้นในปี 2009 โดยมีผู้แปรพักตร์ถึง 2,914 คน แต่หลังจากนั้นก็ลดลง เนื่องจากผู้นำคิมสั่งควบคุมชายแดนที่เข้มงวดมากขึ้น หลังจากขึ้นเป็นผู้นำในช่วงปลายปี 2011

กระทรวงรวมชาติเกาหลีใต้ ระบุว่า ผู้แปรพักตร์ล่าสุด 10 คนนั้น มีทั้งที่เป็นนักการทูต เจ้าหน้าที่การค้า และนักศึกษาที่ศึกษามหาวิทยาลัยในต่างประเทศ “เราขอยืนยันว่า การแปรพักตร์ของชนชั้นสูงในปีที่แล้วนั้นสูงที่สุดในรอบไม่กี่ปีมานี้”

การมีนักการทูตหลบหนีออกมาชี้ให้เห็นว่า การตัดสินใจของเกาหลีเหนือเมื่อปีที่แล้วที่จะลดบทบาทในต่างประเทศได้กระตุ้นให้เกิดการแปรพักตร์ในหมู่เจ้าหน้าที่ที่ไม่พอใจกับชีวิตที่บ้านเมืองของตน และก่อนหน้านี้เคยอาศัยอยู่ในประเทศที่มีเสรีภาพมากกว่าเป็นเวลานาน

“นักการทูตเกาหลีเหนือ เจ้าหน้าที่อื่น ๆ และนักศึกษาที่อยู่ต่างประเทศ ได้รับคำสั่งให้กลับประเทศเมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เข้าสู่ระยะใหม่” เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ บอก

เขาเสริมว่า “หลาย ๆ คนคงพบว่า มันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ หลังจากได้สัมผัสกับการใช้ชีวิตในโลกเสรี และรู้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเกาหลีเหนือแย่ลงไปอีก และการควบคุมก็เข้มงวดขึ้นในเกาหลีเหนือ”

สำหรับสาเหตุที่ชาวเกาหลีเหนือบางส่วนตัดสินใจแปรพักตร์นั้น จากการสำรวจในปีที่แล้ว พบว่า เรื่องของเสรีภาพ และวิกฤตขาดแคลนอาหาร ถือเป็นสองปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจหลบหนี

โดยในบรรดาผู้แปรพักตร์ เกือบ 23% กล่าวว่า พวกเขาตัดสินใจที่จะแปรพักตร์หลังจากไม่ต้องการทนกับกับระบอบการปกครองของเกาหลีเหนือมากขึ้น ขณะที่ 21% กล่าวว่า พวกเขาถูกบีบให้หนีเนื่องจากการขาดแคลนอาหาร

เรียบเรียงจาก The Guardian

ออปต้า ทำนายผลแข่ง ทีมชาติไทย พบ โอมาน นัดสอง ศึกเอเชียน คัพ 2023

โปรแกรมฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023 รอบแรก นัดสอง 19 ม.ค.67 คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

วันหยุดกุมภาพันธ์ 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ ตรงกับวันไหนบ้าง

By admin