“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมาพลิกแข็งค่าผ่านแนว 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ไปแตะระดับ 35.55 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือน โดยเงินบาทอ่อนค่าลงช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ตามภาพรวมของสกุลเงินในเอเชียท่ามกลางสัญญาณตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐ ในประเด็นเรื่องไต้หวัน
ขณะที่เงินดอลลาร์ มีแรงประคองจากเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายที่ให้ความเห็นว่า ทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐ จะยังคงต้องปรับขึ้นต่อไปเพื่อสกัดเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดีเงินบาทพลิกแข็งค่าในช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่เงินดอลลาร์ อ่อนค่าลงตามการย่อตัวของบอนด์ยีลด์ระยะยาวของสหรัฐ ท่ามกลางความกังวลต่อสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ เงินบาทยังได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 10 ส.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย หลังจากดอกเบี้ยทรงตัวที่ระดับ 0.50% ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือน พ.ค. 2563
ในวันศุกร์ที่ 5 ส.ค. 2565 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 35.57 (หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือนที่ 35.55 บาทต่อดอลลาร์) เทียบกับระดับ 36.81 บาทต่อดอลลาร์ ในวันพุธก่อนหน้า (27 ก.ค.) ขณะที่ระหว่างวันที่ 1-5 ส.ค. นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 4,125 ล้านบาท ขณะที่มีสถานะเป็น NET OUTFLOW ออกจากตลาดพันธบัตร 1,074 ล้านบาท (ซื้อสุทธิพันธบัตร 6,737 ล้านบาท แต่มีตราสารหนี้ที่หมดอายุ 7,811 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (8-12 ส.ค.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ระดับ 35.00-36.00 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สัญญาณดอกเบี้ยของไทยจากผลการประชุม กนง. วันที่ 10 ส.ค. ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ระหว่างสหรัฐ-จีน ในประเด็นไต้หวัน และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือน ก.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและตัวเลขเงินเฟ้อคาดการณ์ในมุมมองของผู้บริโภคเดือน ส.ค. (เบื้องต้น) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูลเศรษฐกิจเดือน ก.ค. ของจีน อาทิ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต และยอดปล่อยกู้สกุลเงินหยวนด้วยเช่นกัน